ยีราฟ:
สัตว์ที่แสน
โดดเด่น 

ลินน์ ฮอฟแลนด์


ยีราฟเป็นสัตว์ที่โดดเด่นจริงๆ ไม่ว่าจะอยู่ในสวนสัตว์หรืออยู่ตามธรรมชาติในแอฟริกากลาง พวกมันจะสูงเด่นกว่าสัตว์ตัวอื่นๆ และเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองที่ยังมีชีวิตอยู่ในขณะนี้ (ช้างแอฟริกันเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุด) ความยาวของลำคอของยีราฟนี้ได้ทำให้เหล่านักสังเกตการณ์เกิดความฉงนสนเทห์ตลอดหลายยุคหลายสมัย บางคนถามว่า “ยีราฟได้ลำคอยาวๆนี้มาอย่างไร"

ยีราฟสามารถที่จะยืดคอจากที่ความยาวปกติคือ 2.5 เมตร (8 ฟุต) ออกไปจนถึงที่ความยาว 3 เมตร (10 ฟุต) ได้ และยังสามารถที่จะยืดลิ้นจากความยาวปกติออกไปได้อีกหนึ่งฟุตเพื่อที่จะเกี่ยวเอากิ่งกระถินที่ดูเหมือนจะไกลเกินเอื้อมได้อีกด้วย บางคนอาจเชื่อว่ากระบวนการยืดตัวของยีราฟนี่เองที่ทำให้ลำคอของยีราฟยืดยาวขึ้น แต่ความจริงแล้ว ยีราฟจะสามารถเพิ่มเติมอะไรเข้าไปกับความสูงของมันได้หรือ?

    ถ้ารูปร่างหนึ่งเปลี่ยนไป มันจะไม่กระทบต่อรูปร่างทั้งหมดหรือ? ให้เรามาพิจารณายีราฟกัน

ยีราฟเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ดังนั้นทางด้านกายวิภาคของยีราฟก็จะเหมือนๆกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่ ยีราฟมีกระดูกลำคอ 7 ชิ้น ถ้าสมมุติว่ามันไม่ได้มีกระดูก 7 ชิ้นระหว่างไหล่ไปจนถึงฐานรองของกะโหลกศีรษะล่ะ ลำคอสั้นๆ ของมนุษย์แม้ว่าไม่ได้ต้องอาศัยแรงมากนัก ก็ได้รองรับศีรษะในท่าตั้งตรงเอาไว้อย่างสมดุลทีเดียว สำหรับหัวขนาดใหญ่ของยีราฟยิ่งจำเป็นต้องถูกชูไว้สูงตลอดเวลา เวลาที่ยืน เกือบครึ่งหนึ่งของกล้ามเนื้อคอของยีราฟซึ่งมีน้ำหนักโดยประมาณอยู่ที่ 225 กิโลกรัม (500 ปอนด์) จะเกิดความตึงเครียด และจำนวนของข้อต่อก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนของกล้ามเนื้อที่มันต้องรองรับ การลดข้อต่อลงเหลือเพียง 2 ชิ้นจากกะโหลกศีระษะมาถึงหน้าอก อาจจะทำให้น้ำหนักลดอย่างมาก และจะทำให้ความต้องการพลังงานที่ต้องใช้ในการมีชีวิตอยู่ลดลงด้วย ถ้าการขาดแคลนอาหารทำให้ลำคอเปลี่ยนไป จำนวนของกระดูกลำคอและข้อต่อก็น่าจะเปลี่ยนไปตามกระบวนการวิวัฒนาการมิใช่หรือ? แน่นอนว่าปัญหาของรูปแบบนี้ก็คือจะทำให้สูญเสียความยืดหยุ่น และนั่นอาจจะทำให้เพิ่มการแตกหักอย่างรุนแรงเมื่อยีราฟถูกตีที่หัวหรือคออีกด้วย

ในทำนองเดียวกัน การมีจำนวนข้อต่อของลำคอมากกว่านี้จะก่อให้เกิดในสิ่งที่ตรงข้าม นั่นคือ ต้องใช้พลังงานมากขึ้น และต้องมีมวลของกล้ามเนื้อมากขึ้นที่จะมารองรับ และตอนที่หัวของยีราฟยืดไปข้างหน้า การรักษาศูนย์ถ่วงของยีราฟเอาไว้ก็น่าจะทำให้ขาหน้าของยีราฟเคลื่อนไปข้างหน้า และทำให้ขาหลังลอยขึ้นเหนือพื้นดิน (สมมุติว่าขาหน้าของยีราฟแข็งแรงพอที่จะทำอย่างนั้นได้นะ) กระดูกคอ 7 ชิ้นนี้จึงเป็นการออกแบบที่สุดยอดจริงๆ

เนื่องจากหัวของยีราฟอยู่สูงมาก หัวใจขนาดใหญ่ของยีราฟจึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการปั๊มเลือดที่มีออกซิเจนอย่างเพียงพอส่งไปถึงสมองที่อยู่ห่างออกไปถึง 3 เมตร (หรือ10 ฟุต) ความดันโลหิตที่สูงเกินไปนี้อาจจะเป็นปัญหาได้เวลาที่ยีราฟก้มหัวลงเพื่อดื่มน้ำ ถ้าไม่มีสิ่งพิเศษต่างๆ เหล่านี้ คือ ผนังของหลอดเลือดแดงที่แข็งแรงเป็นพิเศษ วาล์ลกั้นเลือดกับวาล์ลกั้นไม่ให้เลือดรวมตัวกัน รวมถึงเส้นเลือดเล็กๆ ที่เป็นเหมือนเส้นใย ที่เรียกว่า rete mirabile หรือตาข่ายอันยอดเยี่ยม และสัญญาณรับรู้ความดันที่ช่วยให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอในระดับความดันที่เหมาะสม แม้แต่คนที่คิดว่านี่เป็นเพียงการปรับตัวของระบบหลอดเลือดหัวใจให้เข้ากับแรงดันจากแรงโน้มถ่วงโลกที่สูงก็ยังเห็นว่า ยีราฟพิเศษไม่เหมือนใคร
 

ชุดอวกาศ
หัวใจของยีราฟน่าจะแข็งแรงที่สุดแล้วเมื่อเทียบกับสัตว์อื่น เพราะจะต้องมีความดันเป็น 2 เท่าของความดันปกติในการที่จะปั๊มเลือดผ่านทางลำคอที่ยาวเพื่อไปเลี้ยงสมอง และเนื่องจากความดันเลือดที่สูงขนาดนี้ จึงมีเพียงการถูกสร้างที่พิเศษเท่านั้นที่ป้องกันมันจาก “หัวระเบิด” ตอนที่ก้มลงดื่มน้ำ

สิ่งที่น่าพิศวงพอๆกันก็คือ ความจริงที่ว่าเลือดไม่ได้ไปรวมอยู่ที่ขา และยีราฟไม่ได้เลือดออกอย่างรุนแรงเวลาที่ขาโดนบาด ความลับอยู่ที่ผิวหนังที่หนามากของมันและผังผืดภายในที่ป้องกันการไหลรวมของเลือด นักวิทยาศาสตร์นาซ่าได้ศึกษาเรื่ององค์ประกอบของผิวหนังของยีราฟเพื่อใช้พัฒนาชุดให้กับนักบินอวกาศ ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่ช่วยป้องกันการเลือดออกอย่างรุนแรงพอๆ กับองค์ประกอบของผิวหนัง ก็คือการที่หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำในขาของยีราฟนั้นอยู่ลึกเข้าไปข้างในมาก

เส้นเลือดฝอยที่อยู่ผิวภายนอกนั้นมีขนาดเล็กมาก และเซลล์เม็ดเลือดแดงมีขนาดเพียงแค่ 1 ใน 3 ของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งทำให้มันสามารถเคลื่อนผ่านเส้นเลือดฝอยได้ นี่ทำให้เห็นได้ชัดว่าความพิเศษต่างๆ เหล่านี้ของยีราฟล้วนเกี่ยวข้องและขึ้นอยู่กับความยาวของลำคอของมัน

แต่มีอะไรมากกว่านั้นอีก เซลล์เม็ดเลือดแดงขนาดเล็กกว่าทำให้มีพื้นผิวมากกว่าและสามารถดูดซับออกซิเจนเข้าไปในเลือดได้สูงกว่าและเร็วกว่าอีกด้วย นี่ยังช่วยให้มีออกซิเจนเพียงพอสำหรับอวัยวะที่อยู่ปลายสุดรวมถึงหัวยีราฟด้วย

ปอดก็ยังทำงานร่วมกับหัวใจในการจัดส่งออกซิเจนที่จำเป็นให้ยีราฟด้วย แต่ก็เป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในยีราฟเท่านั้น ปอดของยีราฟมีขนาดใหญ่เป็น 8 เท่าของมนุษย์ และมีอัตราการหายใจ 1 ใน 3 เท่าของมนุษย์ การหายใจที่ช้ากว่านี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการแลกเปลี่ยนปริมาณของอากาศจำนวนมากที่มันต้องการโดยไม่ก่อให้เกิดการอักเสบของหลอดลมคอซึ่งมีขนาดความยาวถึง 3.6 เมตร (12 ฟุต) ตอนที่ยีราฟหายใจเอาอากาศเข้าไป อากาศที่ปราศจากออกซิเจนที่อยู่ในปอดตอนหายใจเข้าไปก่อนนั้นไม่ได้ถูกขับออกมาทั้งหมด สำหรับยีราฟนั้น นี่ยิ่งเป็นปัญหาหลายเท่าเพราะหลอดลมยาวๆ ของยีราฟจะต้องเก็บอากาศเสียเอาไว้มากกว่ามนุษย์เวลาที่สูดลมหายใจเข้าแต่ละครั้ง มันจึงจำเป็นต้องมีขนาดปอดที่ใหญ่พอที่จะทำให้ “อากาศเสีย” นี้มีจำนวนเพียงเล็กน้อยจากเปอร์เซ็นต์ทั้งหมด นี่เป็นปัญหาทางฟิสิกส์ที่ยีราฟได้แก้ไขเรียบร้อยแล้ว

การเกิดของยีราฟ

มีความมหัศจรรย์กว่านั้นอีก นั่นก็คือ การเกิดของยีราฟเป็นอะไรที่แสดงถึงการถูกออกแบบไว้อย่างชาญฉลาด ลูกยีราฟจะตกออกมาจากแม่ในความสูงระดับ 1.5 เมตร (5 ฟุต) เนื่องจากแม่ของมันไม่สามารถที่จะนั่งยองๆ ที่พื้นได้ และการออกลูกในท่านอนจะเป็นการเชิญชวนสิงโตหรือผู้ล่าอื่นๆ ให้เข้าโจมตีแม่ยีราฟด้วย เหมือนกับบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ตอนที่เกิดใหม่ หัวจะมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย และนี่จึงกลายเป็นเรื่องท้าทายในการที่มันจะเคลื่อนผ่านช่องคลอดลงมา

ลูกยีราฟก็ยิ่งเพิ่มความท้าทายเข้าไปอีกเพราะมันมีลำคอยาวๆที่บอบบางมาพร้อมกับขนาดตัวที่หนัก 70 กิโลกรัม (150 ปอนด์) ในตอนที่เกิดมา ถ้าหัวออกมาก่อน แน่นอนว่าลำคอต้องหักเมื่อลำตัวของมันตกทับลงมา และถ้าหัวออกมาทีหลัง ลำคอก็ต้องหักแน่ เพราะน้ำหนักของลำตัวก็จะกระตุกให้หัวหลุดออกจากแม่ ทางตันเช่นนี้ก็ถูกแก้ปัญหาโดยการที่ยีราฟมีสะโพกด้านหลังที่เล็กกว่าไหล่ที่อยู่ด้านหน้ามาก และลำคอของมันก็ยาวพอที่จะให้หัวผ่านช่องคลอดและพักอยู่ตรงสะโพก ขาหน้าจะโผล่ออกมาก่อนเพื่อช่วยตอนที่จะตกลงมา สะโพกจะช่วยพยุงและรองรับหัวเอาไว้ และลำคอของมันก็มีความยืดหยุ่น ทำให้สามารถโค้งไปกับไหล่ด้านหน้าได้

นี่เป็นการออกมาอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้เลยกับรูปแบบอื่นหรือแม้แต่กับขนาดความยาวของลำคอแบบอื่น และในเวลาเพียงไม่กี่นาที ลูกยีราฟก็สามารถลุกขึ้นยืนเคียงข้างขาของแม่ได้อย่างงดงาม จากวันที่เกิดจนโตเป็นผู้ใหญ่จะใช้เวลาเพียงแค่ 4 ปี ขนาดลำคอจะโตขึ้นจาก 1 ใน 6 ไปถึง 1 ใน 3 ของขนาดความสูงทั้งหมดของตัวยีราฟ การเติบโตเช่นนี้ทำให้ยีราฟต้องเอาชนะความสูงของขาของมันเพื่อที่จะก้มลงดื่มน้ำ อาหารของลูกยีราฟในปีแรกคือน้ำนมของแม่ของมันเท่านั้น ซึ่งมันก็สามารถเอื้อมถึงได้ง่ายดาย

ในทางนิเวศวิทยา ยีราฟเข้ากับสิ่งแวดล้อมของมันได้อย่างสมบูรณ์แบบ ต้นไม้จำเป็นต้องได้รับการตัดเล็มเพื่อที่จะไม่ได้โตเร็วเกินไปจนไม่สามารถให้ร่มเงาแก่พื้นดินได้ ซึ่งนั่นจะทำให้หญ้าที่จำเป็นต่อการสร้างอาหารให้แก่สัตว์ในทุ่งหญ้าสะวันนาตายไปด้วย ยังมีเรื่องของคนเฝ้ายามที่สามารถมองเห็นได้เหนือหญ้าสูงๆ และคอยสังเกตการเคลื่อนไหวของเหล่าเสือนักล่า ยีราฟไม่เพียงแค่สูงพอสำหรับเรื่องนี้ แต่มันยังมีสายตาที่เฉียบคม และวิสัยของความอยากรู้อยากเห็นอีกด้วย หลังจากที่มันได้เตือนสัตว์ชนิดอื่นด้วยการฟาดหางหลายครั้งแล้ว มันจะวิ่งหนีจากอันตรายอย่างกล้าหาญ ขนาดทำลำตัวที่สูงใหญ่ ผิวหนังที่หยาบหนา การเตะด้วยกีบหลังที่รุนแรง และการก้าวย่างที่ยาวและรวดเร็ว ทำให้ยีราฟหนุ่มเป็นเหยื่อที่ไม่น่าพิศมัยนักสำหรับบรรดานักล่าเนื้อ

การที่จะบอกว่าทั้งหมดนี้เกิดจากการวิวัฒนาการของสัตว์ชนิดหนึ่งทั้งๆ ที่ไม่มีสัตว์ชนิดไหนเหมือนมันเลย และพูดว่าการที่ยีราฟพัฒนาขนาดนี้เป็นเพราะขาดอาหารในระดับพื้นดินเท่านั้น ก็เป็นเรื่องที่น่าขัน ถ้าเช่นนั้นสัตว์ชนิดอื่นที่กินอาหารจากพื้นดิน สัตว์ที่อ่อนแอสำหรับพวกเสือ และพวกที่ได้รับรังสีคอสมิกเหมือนกัน ก็น่าจะมีรูปร่างที่สูงใหญ่ยิ่งกว่ายีราฟไม่ใช่หรือ?

น่าสนใจว่ามีสัตว์ชนิดอื่นที่ดำรงชีวิตด้วยการกินอาหารจากต้นไม้ด้วยเหมือนกัน กวางเกรินุกในแอฟริกามีลำคอที่ยาวที่สุดในสายพันธุ์กวาง มันมีลิ้นที่ยาว และกินใบไม้จากต้นไม้ด้วยการยืนบนขาหลัง แพะมาร์คอร์ของอัฟกานิสถานสามารถปีนต้นไม้เพื่อจะกินใบไม้จากต้นไม้ที่สูงถึง 25 ฟุตได้ สัตว์หลายชนิดชอบกินใบไม้จากต้นไม้ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่มีสัตว์ชนิดไหนเลยที่จะกลายเป็นยีราฟได้ และยีราฟเองก็แน่นอนที่สุดว่าไม่มีทางที่จะมาจากสัตว์ชนิดไหนที่ “ต่ำกว่ายีราฟ”

เราไม่สามารถรู้ได้ว่าสภาพการณ์ต่างๆในอดีตนั้นเหมือนตอนนี้หรือไม่ แต่ “ความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่โดยการยืดคอให้สูงขึ้นเพื่อจะได้อาหาร” ก็เหมือนกับคำอธิบายมากมายของดาร์วิน ที่อย่างมากก็เป็นแค่การคาดเดาเท่านั้น หลักฐานซากดึกดำบรรพ์ได้ยืนยันสิ่งนี้ และความพิเศษไม่เหมือนใครที่แสนมหัศจรรย์ของยีราฟนี้ก็ได้ยืนยันด้วย คำสรรเสริญ เกียรติสิริ และชื่อเสียงจงมีแด่ผู้สร้างยีราฟ
 

การอ้างอิง - References

1. Percival Davis and Dean H. Kenyon, Of Pandas and People, Haughton Publishing Company, Dallas (Texas), 1989, p. 71.

2. Alan R. Hargens, Developmental Adaptations to Gravity/Cardiovascular Adaptations to Gravity in the Giraffe, Life Sciences Division, NASA Ames Research Center (California), 1994, p. 12.

3. Helen Roney Sattler, Giraffes, the Sentinels of the Savannas, Lothrop, Lee and Shepard Books, New York, 1979, p. 22.

4. Francis Hitching, The Neck of the Giraffe, Where Darwin Went Wrong, Ticknor and Fields, New York, 1982, p. 179.


LYNN HOFLAND, B.S.E.E. - ลินน์ ฮอฟแลนด์ จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ทำงานเป็นวิศวกรด้านการทดสอบสิ่งแวดล้อมที่ศูนย์วิจัยนาซ่าเอมส์ เมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย เขากับภรรยาให้การศึกษาลูกสามคนแบบโฮมสคูล และได้เริ่ม "พันธกิจคอแข็ง" ("Stiffneck Ministries" ) เมื่อ 5 ปีที่แล้วเพื่อเตรียมคลังเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องการทรงสร้างให้กับพ่อแม่ที่ใช้การศึกษาแบบโฮมสคูลคนอื่นๆ
 
"ยีราฟ: สัตว์ที่แสนโดดเด่น"
<http://www.creationism.org/thai/giraffes_th.htm>

หน้าหลัก:  ภาษาไทย
www.creationism.org